วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

trend อะไรในงาน nextM 2017, EP2: 5 trends cannot miss

มีเทรนด์อะไรบ้าง ในวงการสื่อที่ต้องจับตาม มาดูกันเลย

  1. Cross channel targeting ที่วางสื่อไปที่ตัวคน มากกว่า การวางจำนวนการวิว สื่อที่ใข้ มองไปที่ consumer purchase journey เป็นหลักเพื่อให้เข้าถึง และสร้างประสบการณ์ ของแบรนด์ ผ่าน touch point ต่างๆ จนมาจบที่สื่อ ณ จุดขาย ฉะนั้น ก็จะมีสื่อที่ทำหน้าที่คล้ายๆ สื่อเดิม เช่น Netflix สื่อเหล่านี้จะทำให้เรา เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ขัดเจนขึ้น เพราะ target มีความปัจเจกมากขึ้น เปลี่ยนช่องของ คอนเทนต์ได้ง่ายมากขึ้น เราจึงควร personalize content เพื่อตอบความต้องการที่ต่างกัน หรือตัวอย่างเช่น weather base targeting เช่น ส่งเนื้อหาไปยังพื้นที่ ที่ฝนตกอยู่    ส่งเนื้อหาของเราที่ส่งไป ต้องมีเรื่องราว เพื่อสามารถสร้าง conversation ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ทำสื่อที่มี mass view ไปทาง ทีวี, และออน์ไลน์ แล้วจึง re-targeting เพื่อกับกลุ่มเป้าหมายเดิมเพื่อสร้าง Call for action เช่น การโหลดคูปอง หรือ ไปทดลอง test drive  โดยเนื้อหาของคอนเทนต์ ต้องสามารถนำไปสู่ การสร้างประสบการณ์ และ engage ไม่ใช่แค่รับรู้ = interest ไปยัง consideration   ในส่วนการวัดผล cross channel ยังไม่มีวิธีที่ดีทีสุด ในขณะนี้  เช่น multi-screen ผ่านมือถือ ยังมีข้อจำกัด เพราะยังต้องได้รับความร่วมมือจาก เจ้าของสื่อ รวมทั้ง user เริ่ม block ads มากขึ้น หรืออย่างเวลาที่ลูกค้า เข้าถึง content ผ่าน application ก็ยังวัดได้ยาก สิ่งที่จะเกิดปีนี้ 2017 คือ multi-screenrating as industrial standard (EP.1) ฉะนั้น การนำข้อมูลต่างๆ มาเชื่อมกัน เช่น เอาข้อมูลของ shopper มา cross กับข้อมูลของ rating เพื่อดูว่า ลูกค้าที่เปลี่ยนแบรนด์ consume สื่ออะไร เพื่อสื่อสารให้ใกล้ขึ้น จึงเป็นวิธีที่สามารถใช้วัดผลได้ก่อนอย่างคร่าวๆ พูดถึงในส่วนของ Multi-screening กลุ่มอายุ 35 ลงมา ใช้เวลากับ screen อื่นมากกว่า โทรทัศน์ ซึ่งสำหรับกลุ่ม 35+ แต่ยังไง ด้วยภาพ ด้วยเสียง มันยังสร้าง impact ได้ดีกว่า
  2. Live VDO  กับ การนำเสนอความสดใหม่ เช่น การเปิดตัว สินค้า โดยมีการโปรโมท เป็น cross channel event และ notification on feed ก็จะช่วยกระตุ้นให้มีการเปิดดูมากขึ้น ตอนนี้มัก live กันผ่าน คนที่มีชื่อเสียง เพราะจะได้ดึง traffic ได้ง่าย brand ที่จะมีคนดู ผ่าน live ต้องมีความ relate to celebrity คน ไม่ได้อยากดู pure brand content จึงต้องดึง influencer เข้ามาช่วย เสน่ห์นึงของ live คือความหลุด ความเป็นธรรมชาติ  ซึ่งอันนึงคือ เข้าไปสื่อสารกับ fan base ของ influencer นั้นๆ ได้อีกด้วย โดยเฉพาะ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่น ยิ่งถ้าสามารถนำ influencer มาสร้างประสบการณ์ในร้านค้า ได้ด้วยจะยิ่งกลมมาก สินค้าที่มีการ เสพ process เช่น การทำอาหาร การแต่งหน้า คือ เสพ ขบวนการ นั่นยิ่งทำให้คนติดตามผ่าน live มากยิ่งขึ้น  ผู้บริโภค ตาม คอนเทนต์มากกว่า โดยไม่จำกัด platform ไม่ว่าจะอยู่ใน platform ไหนก็ตาม ยิ่งมี platform มาก ยิ่งมี content มากขึ้น คนทั่วไปสร้าง คอนเทนต์ได้เอง จะทำยังไงให้ คอนเทนต์ เชื่อมโยงกับคนได้ และมี platform ที่หลากหลาย ก็จะสร้าง engagement กับคนได้เอง เช่น online series, content เองจะเริ่มตั้งต้น ในสื่อเฉพาะแต่ะ platform มากขึ้น TV อาจจะไม่ใช่ จอแรก ที่จะต้องคิดถึง
  3. Content แบบไหนหล่ะ ปัจจุบัน ที่มีความนิยมสูงสุด ยังไม่พ้น ละคร กีฬา และ reality show ยังเป็นประเภท ที่คนติดตามผ่าน จอทีวี เพราะต้องการความ “สด” แต่ด้วย เทคโนโลยี อาจจะดึงคนดูออกจาก screen tv ได้ในไม่ช้า เช่น twitter ถ่ายทอดสด NFL หรือ การถ่ายสด 360 องศา ผ่าน FB เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ อย่าง AIS ดู Olympic ผ่าน Live,  HBO ผ่าน AIS live  เวลาที่แบรนด์จะเข้าไป tie in กับ content มีองค์ประกอบ และจุดที่ต้องคำนึงถึงคือ 
    1. คอนเทนต์นั้นๆ ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย หรือเปล่า
    2.   การเข้าไปของแบรนด์ ยัดเยียดเกินไปหรือเปล่า ขายของ แต่ไม่ถูกเล่าเรื่อง เช่น ไดอารี่ของตุ๊ดซี่ เป็นเรื่องราวที่สนุกสนาน สิ่งที่เข้าไป ก็ต้องเหมาะ เช่น สินค้าไอศครีม ก็ต้องมีความสนุกสนาน เหมาะไปกับ เนื้อหาด้วย
  4. Online shopping กลุ่มที่มี journey เดิม เค้ารู้ว่าต้องการอะไร ต้องไปที่ไหน ช่วงเวลาไหน กับ กลุ่มใหม่ คือ ถ้าต้องการเดี๋ยวนี้ จะไปร้านสะดวกซื้อ แต่ถ้ารอได้ ก็จะ Browse & Buy กลุ่มนี้มีการเติบโตขึ้นมาก คน ใช้เวลากับ social media เยอะ brand ก็อยากจะเข้าไปนำเสนอขายในช่วงเวลานั้นๆ มากขึ้น เป็น target buying ในลักษณะของ contextual targeting เช่น กำลังดูรองเท้า ก็มี ads รองเท้านำเสนอไปพร้อมๆ กันเลย และกลุ่มใหม่ก็มีความคุ้นชิน กับพฤติกรรมเหล่านี้ แบรนด์ ก็เลยพยายามสร้าง e – experience ซึ่งปัญหาคือ ถ้าต้องมีกลุ่มคิดทั้ง กลุ่ม จะ allocate budget กันอย่างไร หรือจะ กระตุ้น ความสนใจ ในแต่ละ journey ของ consumer ได้อย่างไร สินค้าประเภทที่คนต้องซื้อเป็นประจำ low involvement คือ ไม่ต้องการใช้ความคิดในการตัดสินใจมาก ถูกกระตุ้นได้ง่าย ยิ่งแบรนด์ ที่สามารถสร้างความมั่นใจได้ง่าย มันทำให้ตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น เพราะแน่ใจอยู่แล้ว ว่าจะได้สินค้าแบบไหน
    รวมถึง มีธุรกิจใหม่ที่เติบโตจากกลุ่มนี้ หลักๆ คือ การขนส่ง (LINE man) และ ระบบการชำระเงิน mobile banking ต่างๆ ฉะนั้น สามารถเติบโต ได้อีกมากมาย
    Consumer เอง มองว่ามันตอบเรื่องความรวดเร็วจะได้เอาเวลาไปทำอย่างอื่น สินค้าที่ต้องการความน่าเชื่อถือ stage ของ consumer มันอยู่ที่ตรงไหน และเราจะเข้าไปกระตุ้นได้ตรงไหน online journey ก็เป็นอีกส่วนนึง เช่น ถ้าใน site หาปุ่มไม่เจอ ก็จะมีปัญหากับการตัดสินใจซื้อ อันนึงที่เป็น trend คือ automate buying เช่น ถ้า สินค้ากำลังจะหมด หรือพบสินค้าที่ต้องการในราคาที่ต้องการ ให้สั่งซื้ออัตโนมัติ
  5. สื่อท้องถิ่น เช่น รถสองแถว หรือ ป้ายโฆษณา หรือวิทยุชุมชน มีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะกลุ่ม urbanize เช่น จังหวัดไหน ที่มี ห้างสรรพสินค้า ก็จะมีสื่อเหมือนๆ กันกับที่มีอยู่ใน กรุงเทพ แต่สิ่งที่แบรนด์ทำคือ ต้อง localize ภาษาที่จะใข้ในแต่ละพื้นที่ ทำให้คนเกิดแบรนด์ love เพราะรู้สึกเข้าถึงง่าย สำหรับต่างจังหวัด ระดับรายได้ ปานกลาง ถึงน้อย เค้าเข้าถึง ออนไลน์ได้ แต่ความถี่อาจจะไม่ได้มาก เพราะต้องซื้อ แพคเกจเนตรายวัน เค้าก็จะใช้เวลาน้อย ซึ่งสลับกับ กลุ่มระดับรายได้สูง, local page จะเป็นอีกช่องทาง เพื่อดู ความเป็นไปของพื้นที่นั้นๆ หรือเป็นช่องทาง ในการสื่อสารออกไป เช่น ร้านข้าวแกง วันนี้มีกับข้าวอะไรบ้าง ถ้าชอบก็ ขี่มอไซค์ ไปส่งในละแวก ใกล้บ้าน การวัดผล อาจจะยังยาก ยังคงต้องดูจำนวนผู้เข้าร่วม หรืองานวิจัย เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ต้องการเพิ่มยอดขาย sku นี้ ในภาคอีสาน เราใช้ พระเอกลิเกหมอลำ เป็น influencer ทุกอย่างเป็นภาษาอีสาน และสร้างประสบการณ์เพิ่มเติม มี on ground activity และ sponsor คณะลิเก ถามว่าวิธีการวัดสื่อ ก็ต้องวัดแตกต่างกันออกไปในแต่ละสื่อเลย เช่น วิทยุ วัดยอดขาย pre & post , activity สามารถวัดยอดขายได้เลยเพราะขายของในงานได้ 

trend อะไรในงาน nextM 2017 EP1: One Market, Two Currencies

เปิดเทรนด์แรก กับความท้าทายใหม่ของธุรกิจโฆษณาไทย เรากำลังจะมี เรทติ้ง คอมพาณี ที่มากกว่า เนลสัน ที่เชื่อถือกันมานับ สิบๆ ปี


One Market = Rating
เวลาที่เราซ์้อสื่อโฆษณาทางทีวี แต่เดิม จากที่เราซื้อ ใน one currency เราดู rating ของรายการเพื่อนำมาการเลือกซื้อรายการ เพื่อให้ได้คะแนนการเข้าถึง GRP มากตามที่แต่ละแคมเปญวางแผนไว้ และเทียบกับคู่แข่ง  GRP จึงเป็นหลักสำคัญ ในการวางแผนโฆษณา ทางทีวี

Two Currencies = 2 media rating companies
เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากเรามี ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย มีบริษัทในการวัดเรตติ้ง มากกว่า หนึ่งที่เช่นกัน บ้านเราจะมี kantar เพิ่มขึ้นมา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงคือ sample size จาก 2,200 เป็น 3,000 ซึ่งจะถือเป็น industry own rating
·     

       ใน ฟิลิปปินส์ ทีวี ถือ budget over 80% โดยสภาพภูมิประเทศ และรายการภาษาอังกฤษ เข้าถึงทุกกลุ่มคน ช่อง ทีวีโดน dominate โดย สองช่อง 8nv GMA & ABS-CBN โดยแต่ก่อน เนลสัน เป็นคนจัดการ โดย 95% ครอบคลุม หัวเมืองใหญ่ ทำให้ไม่ครอบคลุม เกาะที่เหลือ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ช่อง GMA มี เรทติ้งนำตลอด ขณะที่ CBN ก็เชื่อว่ามี เรทติ้งสูงจากการทำวิจัย เช่นกัน ถึงขนาดฟ้อง เนลสัน ว่าโอนเอียง ให้กับช่อง GMA จึง ใช้ Kantar ทำเรทติ้งขึ้นมาอีกระบบนึง โชว์คู่กันมากับทางเนลสัน ข้อน่าสนใจ คือ เรทติ้งช่งอ GMA นำ CBN อยู่นิดหน่อย แต่เมื่อใช้ kantar ตัวเลขสูงกว่า GMA มาก เกิดจาก การกระจายกล่องในการวัดเรทติ้ง กระจายกล่องตามเกาะต่างๆ ถึงได้รวมเกาะเล็ก เกาะน้อยด้วย

·      CBN จึงใช้เรทติ้งของ kantar เป็นราคาขาย โดยใช้ CPRP X program rating = program price. แต่ที่แปลกคือ ยังใช้ เนลสัน เป็นตัววัดผลอยู่ เนื่องจากความเคยชิน  ซึ่งข้อดีคือ
o   มีการเปรียบเทียบกันของผล
o   มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า จริงๆ แล้วอาจมีผู้ดูมากกว่าที่เป็นอยู่
·      
       ในเคส มาเลเซีย มี landscape ไม่เหมือนกัน หนังสือพิมพ์ และ ดิจิตัล กลายเป็นสื่อหลัก ทีวี มีงบไม่ถึง 30%  มีสองค่ายเหมือนกัน คือ วัด pay TV (kantar) และ วัด free to air (Nielson) เรื่องนี้บอกอะไร
ใน pay tv วัดโดย direct path ซึ่งกล่องสามารถส่งข้อมูลมาได้โดยตรง โดยไม่ต้องกระจายกล่องใหม่ขึ้นมาอีกเยอะๆ ทำให้สามาถขยาย sample size ขึ้นได้อีกเยอะ ลูกค้าจะมองราคาปีต่อปี ในการกำหนดราคาขายของแต่ละค่าย (inflation) ของสื่อ

·      กรณีของ NBC ของอเมริกา มีการวัดผล รายการ Blindspot มีการวัดผลการดูสด เรทติ้ง 2.4 + การดูย้อนหลังจาก device ต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลา รวมเป็น เรทติ้งสูงถึง 6.7 ข้อดี คือ การ breakdown by platform ซึ่งอาจจะมีคนดูแตกต่างกัน เช่น การดูสดครั้งแรก อาจจะดูกับ สูงวัยหน่อย ในขณะที่วัยรุ่น ดูย้อนหลังมากกว่า ตอนนี้ ในอเมริกา มีการดูสด แค่ 30% ที่เหลือ คือการดูย้อนหลัง ซึ่งอันนี้นับเป็นมุมมองใหม่ที่เรา ต้องนำมาคิดในการวางแผนสื่อกันเลยทีเดียว


แล้วบ้านเราหล่ะ?
เราสามารถวัด ทีวีและออนไลน์ได้และ เนลสันมี บริการนี้อยู่แล้ว TAM (Total Audience Measurement) ส่วน Kantar จะออกให้ได้ในปีนี้ โดยมี sample size เพิ่มขึ้นเป็น 30,000 คน Q4 ปีนี้ เราน่าจะได้เห็นกัน ข้อดีเราจะได้เห็นการเปรียบเทียบ และการแข่งขันในตลาด

เลือกเชื่ออันไหนดี และอันไหนมีประโยชน์สูงสุด
Group M มองว่า ไม่มีเจ้าไหนแม่นยำ 100% แต่ต้องเอาข้อมูลสองชุด มาดูว่า มันแตกต่างกันตรงไหนบ้าง เช่น ที่นึงวัด urban ในขณะที่อีกอันเป็น nationwide แล้วการต่อรองราคากับ publisher ก็ใช้ทั้งสองชุด ขึ้นอยู่กับ target ที่ต้องการจะไป เราคงต้องมารอดูกันว่า เรทติ้งของ kantar ออกมา แล้วจะสะเทือน กับ เนลสัน หรือไม่
ทั้งสองค่าย แข็งแรงเรื่อง เทคโนโลยี ที่ต่างกัน คือ sample size   และ ข้อมูลของ industry ที่จะแตกต่างกัน
สำหรับ ผู้ลงโฆษณา เวลาที่ดูการวัดผล ของเดิม อาจจะเทียบกับ ยอดขาย หรือ awareness กับทั้งสอง ตัววัด แล้วดูว่า อันไหนที่สอดคล้องกับ ผลที่เกิดขึ้นจริงที่มากกว่า ซึ่งหากเอเจนซี่ dynamic เราอาจจะเห็นได้ตั้งแต่ 2 อาทิตย์ ขึ้นไป
การวัดผล ออนไลน์ จะเข้ามามีบทบาท เพิ่มขึ้น เพราะ คนดูในทีวีปัจจุบันได้ ประมาณ หนึ่งในสาม เท่านั้น เราคงต้องดูอีก สองในสามด้วย เพียงแต่ ยังไม่มี revenue model ที่จะเอาเข้ามาหาเงินได้ ตอนนี้ยังแค่แยกกันขายอยู่

Multi-screen กับคนไทย

ที่น่าเสียดายคือ ผู้ผลิต คอนเทนต์ นำรายการไปไว้บน free platform ซึ่งทำให้วัดผลไม่ได้ ในปัจจุบัน คนเปลี่ยน พฤติกรรม คือ ยึด คอนเทนต์เป็นหลัก ไม่ว่าจะดูจากทางทีวี หรือช่องทางอื่น  และสามารถวัดผลข้ามช่องทางได้ น่าจะคล้ายๆ เคสของ CBN

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

จาก Big Data จนถึง ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง



ในช่วงปี สองปีที่ผ่านมา Big Data กลายเป็น trend
จากการทำ digital marketing ที่สร้าง awareness      เข้าสู่ยุคของ conversion to sales
จากการทำ viral ที่สร้างความจดจำ                          เข้าสู่ยุคของ value content for consumer
จากการวัดผล แค่ view, users                                   เข้าสู่ยุคของ engagement  
โชคร้ายของคนทำดิจิทัล ที่ทุกอย่างดัน "วัดผลได้"

ไปฟัง sparkcon 2016 มาแต่ไม่ขอพูดเรื่องนั้นนะ เพราะหาอ่านได้ในเนตอยู่แล้ว เลยอยากจั่วอีกประเด็น

และทุกๆ transaction ที่เกิดขึ้น มันคือ "ข้อมูล" เพียงแค่ เราจะใช้ข้อมูลนี้ อย่างไร
"ข้อมูล" ไม่จำเป็นต้อง ซับซ้อน แต่ต้องเป็นข้อมูลที่ เอามาใช้งานได้ 
First layer of data ใช้งานได้แล้ว แต่ปัญหา คือ ตอนนี้ข้อมูลของลูกค้า มันช่างกระจัดกระจาย 
ข้อมูลลูกค้า ว่ามี product อะไรอยู่บ้าง มันยังไม่ได้ integrate กับ ข้อมูลของลูกค้าที่โทรเข้ามาใน call center มันอาจจะยังไม่ถูกผูกกับ social profile ของลูกค้า ใน facebook account 
หลายคนคงเคยเจอปัญหา ว่าเป็นลูกค้าธนาคารนี้ แต่โดนโทรมาขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากมาย ทั้งๆ ที่ชั้นก็มีสิ่งเหล่านั้นอยู่แล้ว นี่ไงฐานข้อมูลที่ล้มเหลวสุดๆ และสร้างประสบการณ์แสนนอย ให้กับธุรกิจหลัก โดนมากๆ ผ่านโทรศัพท์ แล้วเมื่อโดนอีกทีผ่านหน้าเคาน์เตอร์ ก็สงสารน้องๆ teller นะ บอกเลย

นี่แหละ เราเลยไม่รู้จักลูกค้าคนนั้นดีพอ และไม่แน่ใจว่า เราได้ติดต่อกับเขาโดยมีข้อมูลของลูกค้าคนนั้นเป็นศุนย์กลาง และสามารถบริการเขาได้อย่างดีพอ เมื่อลูกค้าติดต่อเข้ามา ไม่ว่าจะผ่าน touchpoint ไหนๆ 

เรามีมิติในการมองลูกค้าเพียงด้านเดียว ในมุม money generator แต่เรายังไม่เคยมองลูกค้า เป็น Life Time Value Consumer ผู้สร้างอิทธิพล ในการรีวิว และบอกต่อบริการ ให้กับ FF ของเขา (friend & family)


แล้ว parameter อะไรบ้าง ที่เราต้องรู้จักกับลูกค้าของเรา

"Channel"      ลูกค้าติดต่อเราผ่านช่องทางไหนมากที่สุด งานนี้ omni channel จะกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ ภาค retail คงต้องทำงานกันหนักหน่อย first call อาจจะติดต่อผ่าน call center แล้วไปที่หน้าร้าน หรือสาขา เพื่อรับบริการ จะทำข้อมูลยังไงให้ส่งถึงกัน แบบไร้รอยต่อ ... อืม น่าคิดเนอะ
"Action"        ลูกค้าเข้ามาทำอะไรบ้าง ซื้ัอ ซ่อม บ่น ด่า ชม เคลม ขาดส่งค่างวด นี่คือ transaction ที่เกี่ยวกับเรื่องเงินทองทั้งสิ้น ซึ่งจะบอกแนวโน้มของลูกค้านั้น แต่เรา คาดการณ์ จากข้อมูลเหล่านั้น แค่ไหน เป็นเรื่องปกติ ถ้าคุณเป็นลูกค้าที่โทรมา ขอแจ้งซ่อม ได้บริการไม่ดี มีการโทรมา complaint และในที่้สุดลูกค้าคนนั้น ก็ขาดส่ง คุณพยายามจะยื้อเค้าไว้ แต่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ลูกค้า เคยเจอประสบการณ์อย่างไรบ้าง ผ่านแบรนด์ของคุุณ
"Sentiment"   ลูกค้ารู้สึกอย่างไร อันนี้ไม่รวมพวกคะแนนที่ให้กด หลังรับบริการทางโทรศัพท์ ที่ไม่สามารถบอกอะไรได้จริงๆ เทคนิคง่ายๆ ก็อย่างเช่น สร้าง hashtag ให้ลูกค้าจดจำ ไม่ว่า เค้าจะชมหรือ ด่าแบรนด์ของคุณ คุณก็สืบค้นได้ไม่ยาก จริงม่ะ


วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เตรียมเที่ยว ไต้หวัน ไทเป ทะเลสาบสุริยันต์จันทรา 4 วัน งบ 15,000 บาท

โพสต์นี้เป็น โพสต์จำพวกรีวิวแรกของเค้านะ ไงติชม ได้หลอดจร้า



มีเพื่อนถามมาแยะ ว่าเที่ยวยังไงถึง งบไม่โหดมาก เผอิญเพิ่งจะจัดทริปไต้หวันเสร็จ เลยมาแชร์ (อาจจะไม่ได้ถูกที่สุด แต่ถูกและสะดวกสบายระดับนึงนะจ๊ะ) เผื่อว่า จะมีประโยชน์กะเค้าบ้าง ไงลองดูนะจ๊ะ

เวลาไป ไต้หวัน เราคิดถึงไรบ้าง
1. ตั๋วเครื่องบิน
เวปที่เราใช้ประจำ คือ www.skyscanner.com มีทั้งที่เป็นเวป และแอปมือถือ แต่พบว่า ราคาตั๋วจากแอปนี้ถ้าจะถูกและดี น่าจะไปยุโรปมากกว่า
ทริปนี้ เลยมาตายที่ เวปสายการบิน ซึ่งงวดก่อนที่ไปใช้บริการ คาเธ่ย์ เพราะราคาโอเค และเวลาบิน ออกเช้าถึงบ่าย (อันนี้สำคัญมาก เพราะส่วนใหญ่มานถูกจริง แต่บินเข้าไป เกือบสิบชั่วโมง แถมแมร่งแวะหลายที่เหลือเกิน จะไหวป่ะ ตูดระเบิดกันพอดี) แวะ +1 ที่ฮ่องกง ถือว่าไม่เสียเวลามาก (อันนี้ดูไว้เป็นทางเลือกนะจ๊ะ ค่าตั๋วรวมสะระตะ แล้วประมาณ หมื่นนิสหน่อย ส่องดูได้ตามลิ้งค์http://www.cathaypacific.com/cx/en_TH.html

แต่ทริปนี้ใช้บริการ วีแอร์ http://www.flyvair.com/en/ ลองดูเป็นทางเลือกนะฮาฟ ขึ้นที่ดอนเมือง flight time ดีเลิศ ออก 10 โมงเช้า ถึงบ่าย 3 พอดีเวลาเช็คอินโรงแรม แถมได้ตั๋วโปร ราคาถูก แค่ 7,500 นี่ไปน่าเทศกาลหยุดยาวนะฮาฟ ขอเม้าท์ว่า จองล่วงหน้า 5 เดือนจร้าพี่น้อง ไม่ง้านอย่างหวังจะได้ตั๋วถูก

2. ที่พัก
คราวนี้กลับไปนอนที่เดิม คือที่ Hotel Puri http://www.hotel-puri.com.tw/ ที่เลือกโรงแรมนี้ เพราะมีสาขาแถว Taipei main station เรียกว่า ไปไหนมาไหนสะดวกสบาย แถมมีห้อง family room ซึ่งสามารถนอนได้ 4 คน ซึ่งจะทำให้เมื่อหารออกมาแล้ว ราคาต่อหัวถูกลงกว่าพักห้องแยก (ข้างบนโรงแรมนี้ มี Star Hostel ดูเลอค่าทีเดียว แต่แมร่งงง เต็มตลอดจร้า)
ตกลงว่านอนอันนี้หล่ะ เพราะต้องนั่งรถไฟ ออกนอกเมือง จะได้ดวกๆ หน่อย เออ อีกนิสนึงคือ การพักห้องประเภท double (เตียงใหญ่หนึ่งเตียง) จะถูกว่า twin (เตียงเล็กสองเตียง) พอควรนะฮาฟ ถ้าไม่กลัว นอนแล้วไฟช็อต เผลอกินเพื่อนกันเอง เข้าข่าย เพื่อนกรูรักมึงว่ะ ฮิฮิ
ลืมบอกว่า สามารถจองได้ผ่าน booking.com หรือ agoda อันนี้ตามสะดวก เช็คราคาด้วยนะฮาฟ เพราะต่างกันแยะเหมือนกัน

ส่วนคราวนี้ พักนอกไทเป เพราะกะจะไปซิ่ง ทะเลสาบ สุริยันต์จันทรา และอ่านรีวิวชาวบ้านเค้ามา พบว่า ควรค้างอย่างรุนแรง จะได้เที่ยวได้หน๋ำใจหน่อย อันนี้จองผ่าน agoda ได้ห้อง family ราคาเลย ดีงามเป็นพิเศษ

3. ที่เที่ยว
สำหรับคนที่ไปครั้งแรก แนะนำให้เที่ยวในไทเป และตันสุ่ย ให้เฮี่ยนเตียนก่อน หลังจากนั้น ค่อยคิดถึงทริปที่ออกนอกเมือง เหตุเพราะ ไทเป มีอะไรให้กิน เที่ยว ช้อป แยะมว้ากกกกก และตันสุ่ย นั่งรถออกนอกเมืองไปประมาณแค่ครึ่งชั่วโมง ก็ได้สัมผัสบรรยากาศที่ดูเป็นที่ตากอากาศ ได้อีกมูดนึงแบบชั่วพริบตา

แต่เนื่องด้วย อิชั้น ไปมาหลายรอบและ เลยขอ ไปกินลม นอกเมือง แต่ไงก็ไม่พลาด กิน เที่ยว ช้อป กับเค้าในไทเป ดังนั้น ตารางการเที่ยวเลยมาประมาณว่า

วันที่ 1     ถึงประมาณ บ่ายสาม กว่าจะออกจากสนามบิน ถึงที่พักน่าจะสัก 5 โมงเย็น ขอชิว ช้อป อยู่แถว ซิเหมินติ้ง หรือในเมือง และกัน

วันที่ 2      ตื่นแต่เช้านิสสนุง นั่งรถไฟ หัวกระสุนออกนอกเมืองไปย่าน ไท่ซง แล้วต่อรถไปทะเลสาบ คาดว่า ถึงประมาณเที่ยงๆ หรือบ่ายนิสๆ หาไรหร่อยๆ หม่ำเป็นข้าวเที่ยง เอากระเป๋าไปฝากเค้าไว้ก่อนที่โรงแรม (เวลาเช็คอิน มาตรฐาน บ่าย 3 นะจ๊ะ) แล้วออกไปชมเมือง ขึ้นกระเช้าชมวิว เที่ยวเหนื่อย ค่อยกลับมาอาบน้ำ แต่งตัว ออกไปดินเนอร์สวยๆ link นี้ลองดูเป็นไอเดีย เลอค่าทีเดียว https://www.ilovetogo.com/Article/105/2261/%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2-(Sun-Moon-Lake)

วันที่ 3      เห็นเค้าฮิตมาถ่ายรูปตอนเช้ากัน ว่าจะลองดู แต่ถ้าตื่นไม่ไหว ก็ยังมีเวลาชิวๆ เก็บตกอีกหน่อย ค่อยเช็คเอ้าท์ กลับเข้าเมือง (ใครอยากเที่ยว สามารถออกเช้าหน่อย แล้วแวะเที่ยว ไท่ซง ได้อีกก่อนกลับไทเป นะจ๊ะ แล้วค่อยเข้าไทเป ช่วงบ่ายๆ มาซิ่งต่อก็ยังได้ ส่วนอิชั้น คืนนี้คงเดิน ตลาดกลางคืน ช้อปทิ้งทวน จะได้กลับมาจัดกระเป๋าให้เรียบร้อย วันกลับได้ไม่รีบมาก

วันที่ 4       เก็บตกไทเป กันไป ใครอยากช้อป เที่ยว ไรก็ตามอัตธยาศัย บ่ายฝากกระเป๋าไว้ที่ โรงแรม เพราะ ไฟลท์กลับอิชั้นคราวนี้ ล่อไป 3 ทุ่ม ถึง กทม เที่ยงคืนกันเลยทีเดียว เรียกได้ว่า เที่ยวคุ้มมว้าก อันนี้ขอไม่แนะนะที่เที่ยวนะจ๊ะ เพราะคงมีคน รีวิว มากมาย ใหญ่โต ตามความชอบของแต่ละนาง

4. ทำวีซ่า
ไปมาหลายรอบและ วีซ่านั้น ขอไม่ยาก ขั้นตอนไม่ซับซ้อน แต่ขอบอกว่า จะไปยื่น หรือ จะไปรับ รอนานนนนนนนนนนนน มว้ากกกกกกกกกกก เผื่อเวลากันนิสนะ เออ ถ่ายรูปใต้ตึกเอ็มไพร์ได้เลยนะ มีร้านตรงแถวศูนย์อาหาร นางเก่งเรื่องนี้ เพราะมีคนไปใช้บริการบ่อยมาก จะได้ขนาดไม่ผิด เด๋วจะเสียรมย์ ไปตามลิ้งค์นี้ได้เลยจร้า http://www.taiwanembassy.org/TH/ct.asp?xItem=424412&ctNode=1813&mp=232

ค่าใช้จ่ายประมาณกานในทริปนี้
  1. ค่าตั๋ว V-Air ไปกลับ ดอนเมือง ไทเป 7,500 บาท
  2. ค่าที่พัก hotel Puri Taipei main station 2 คืน 3,025 บาท
  3. ค่าที่พัก Sun Moon Lake Hotel 1,475 บาท
  4. ค่ารถไฟหัวกระสุน ไปกลับ ประมาณ 1,000 บาท
  5. ค่าทำวีซ่า 1,500 บาท
สิริรวม 14,500 บาท

อันนี้ไม่รวมค่ากินนะฮาฟ แต่ตามประสบการณ์ กินให้ตาย ก็ไม่เกิน 5 พันหรอก เพราะค่าครองชีพเค้าพอๆ กับบ้านเราเลย มีไร ติชม จัดกันมานะฮาฟ จะได้เอาไว้ปรับปรุงในโอกาสต่อไป

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ตึกสูง เมืองใหญ่ หิมะ และความเดียวดาย

หลังจากตัดสินใจพักร่างจาก fb เมื่อวันศุกร์ที่ 6 กุมภา เพื่อหาความสงบ และส่วนตัวบ้าง จากพายุงาน ที่โหมมาจนตั้งหลักไม่ทัน ณ จุดนี้

มันเหมือนตึกสูงที่อยู่ท่ามกลางความวุ่นวาย คราคร่ำไปด้วยจราจรของ work stream traffic ที่ไม่มีไฟแดง ให้พักเลย มันเต็มไปด้วยหมอกขาวโพลน ท้อถอยด้วย คนข้างบ้านที่พร้อมจะไม่เข้าใจ และไม่เห็นใจ แน่หล่ะดิ เมืองนี่เนอะ มันตัวใครตัวมัน มีแต่เพื่อนต่าง floor ในชั้นเดียวกันนี่แหละ ที่ยังพอเดินมาส่งยิ้มให้กันได้บ้างเป็นระยะๆ

กลางวัน ช่างยาวนาน ทำให้ทำงานแข่งกับพระอาทิตย์ ไม่มีหยุด พายุโหมพัด จราจรที่ไม่เปิดโอกาสให้ไฟเหลือง ตึกผอมท่ามกลางเมืองใหญ่ พร้อมจะล้มลงทุกเมื่อแล้วหล่ะ

ชั้นอยากเป็นบ้านหลังน้อย กลางเนินเขามากกว่านะ

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หลักความสุข ๙ ประการที่ทำได้ไม่ยาก

๑. จงมีชีวิตอยู่ด้วยจิตแห่งความรัก รักโดยไม่หวังผล แล้วคุณจะไม่ต้องพบกับ คำว่า ความผิดหวัง ความแค้น ความเสียใจ อย่างที่ผ่านมา ๒. จงมีชีวิต อยู่ด้วยการให้อภัย แล้วคุณจะพบว่าคุณมีจิตใจที่แจ่มใสตลอดเวลา ไม่ปวดร้าวกับอดีตใดๆ ๓. จงมีชีวิตอยู่ด้วยการรู้จักตนเองมากกว่ารู้จักผู้อื่น แล้วคุณจะพบว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนแต่แก้ไขด้วยตัวเราทั้งสิ้น ๔. จงมีชีวิตอยู่ด้วยการอยู่อย่างพอเพียง แล้วคุณจะพบว่าคุณไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยเกินความจำเป็น ด้วยความอยาก และความโลภ ๕. จงมีชีวิตอยู่กับความจริง แล้วคุณจะพบว่าจิตของคุณได้รับการปล่อยวาง อย่างแท้จริง โดยไม่คาดหวังกับสิ่งใดจนเกินไป ๖. จงมีชีวิตอยู่อย่างผู้ให้มากกว่าการเป็นผู้รับ แล้วคุณจะพบกับความสุขลึกๆ ที่เป็นยาอายุวัฒนะจากการให้นั่นเอง ๗. จงมีชีวิตอยู่อย่างมีศีล สมาธิ ปัญญา แล้วคุณจะพบกับคุณค่าของชีวิต ที่จะมีแต่คำว่า สะอาด สว่าง สงบ ๘. จงมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน อดีตคือประสบการณ์ อนาคตยังมาไม่ถึง ฉะนั้นทำวันนี้ให้ดีที่สุด แล้วคุณจะพบว่า ชีวิตจะดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา อย่างเห็นได้ชัด ๙. จงมีชีวิตอยู่ด้วยการสะสมความดีและบุญกุศล ให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แล้วคุณจะพบว่า ชีวิตของคุณมีตัวช่วยอยู่ตลอดเวลา คุณจะแคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งปวง เพราะผลบุญจะลงมาหล่อเลี้ยงและรักษาบุคคลนั้น ให้มีความสุขความเจริญสืบต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความสบาย vs ความสุข

กลับมาบ้านคราวนี้ สงเกตุตัวเองและเมืองเชียงใหม่ ที่หมุนเร็วเข้าไปทุกวี่วัน
นั่นหมายถึงการอพยพย้ายถิ่น แบบกึ่งถาวรและถาวร ของคนจากต่างถิ่น
ไม่อยากคิดว่าเมื่ออีกสามปีข้างหน้า ที่ทุกถิ่นฐานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราไปมาหาสู่กันได้เหมือนไปต่างจังหวัด
พลวัตรดังกล่าว คงขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตอีกมาก
คนเมือง มาพร้อมกับความติดสบายแบบทุนนิยม ใช้เงินซื้อความสะดวก
อย่างนึงที่เห็นคือเรื่องง่ายๆ อย่างอาชีพ แม่บ้าน
เราติดสบายจนเคยตัวจริงๆ ใช้เงินซื้อเวลา และแรงกายที่ต้องปัดกวาดเช็ดถู
อาชีพนี้ ในเวลานี้ เงินดีไม่ใช่น้อย 300-500 บาท ขึ้นกับขนาดของบ้าน
เอาว่ะ ยอมแกหน่อยเพื่อให้ได้พักผ่อน
นั่งชมนกชมไม้อยู่สักพัก ป้าแกก้อ cross sales ว่าต้นไม้ยาวแล้วนะคุณ
ตัดหน่อยมั้ย คิดไม่แพง 300บาท
อืม นี่มันอะไรกันเนี่ยะ!
เรากลับคิดว่า อะไรๆเด่วนี้ นิดหน่อยก้อกลายเป็นค่าแรงไปหมดและ
อย่ากระนั้นเลย จริงดังคำป้าบอก ต้นไม้ยาวแล้ว
งั้น เราไปซื้อกรรไกรตัดหญ้าดีกว่า
มาเล็มกิ่งไม้ ตัดหญ้ายาวๆ ให้ดูดี
เอามือหยิบหญ้าแห้ง เท้าเหยียบดินดูบ้าง ก้อเป็นความสุขอีกแบบหนึ่ง
ที่การพักผ่อนให้ได้เช่นกัน

และชดเชยค่าตัดหญ้า 300บาท ด้วยกาแฟรสดี และมื้อคำอร่อยๆเป็นการทดแทน ท่าจะดีไม่น้อยฃ